IN-FLIGHT WIFI ทำงานยังไง?

ตุลาคม 23, 2018


เป็นเวลาไม่นานนักนับตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องปิดใช้งานในระหว่างการบินทั้งตอนเครื่องขึ้นและลง รวมไปถึงกฎที่ห้ามใช้โทรศัพท์ในระหว่างการบิน แต่ว่าในไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลาย ๆ สายการบินหลดหย่อนกฎเหล่านี้และในหลาย ๆ สายการบินแม้กระทั่งให้บริการ in-flight wifi หรืออินเตอร์เน็ตในระหว่างบินด้วย

คุณเคยเช็คอินบนเฟสบุ๊คหรือแชทหาเพื่อนบน WhatsApp ในขณะที่อยู่เหนือหมู่เมฆและการเดินทางแสนยาวไกลในช่วงวันหยุดยาวและก็เกิดสงสัยว่าการต่ออินเตอร์เน็ตบนนั้นมันเป็นไปได้อย่างไรหรือเปล่า นี่คือสิ่งที่เราจะมาดูว่ามันทำยังไง และคราวหน้าที่คุณบิน คุณจะได้รู้

มันทำยังไงนะ?

สั้น ๆ ง่าย ๆ ก็คือมีสองระบบที่ทำงานขนานกันโดยนั่นจะทำให้คุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในระหว่างบินได้ ระบบแรกที่ว่าคือการเครือข่ายจากหอคอยในสนามบินภาคพื้นส่งสัญญาณและรับสัญญาณโดยผู้รับสัญญาณใต้เครื่อง สิ่งนี้เปลี่ยนจากเครื่องบินให้กลายเป็นฮ็อตสปอตบินได้ และทำให้ผู้โดยสารใช้งานได้นั่นเอง จากนั้นอินเตอร์เน็ตของคุณก็จะถูกส่งผ่านลำตรงไปยังหอคอยบนภาคพื้นนั่นเอง

ในขณะที่เครื่องบินทำงาน มันจะเชื่อมต่อกับหอบังคับการบินที่ใกล้ที่สุดและเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลาการบิน ลองจินตนาการว่าคุณเดินไปตามถนนที่คุณมี Wifi password จากทุก ๆ คาเฟ่และบาร์อยู่ตลอดทาง ในขณะที่คุณเดิน มือถือของคุณก็จะเชื่อมต่อกับสัญญาณที่ใกล้ที่สุดที่คุณเดินโดยอัตโนมัตินั่นเอง เครื่องบินนี่ก็คล้ายกันแต่เป็นเวอร์ชั่นที่ขนสัญญาณบนอากาศ ที่จะให้บริการสัญญาณกับผู้โดยสารในขณะที่บินผ่านหอบังคับการแต่ละหอใต้ลำเครื่อง

 

1.เสาอากาศของ Wifi จะวางอยู่ระหว่างลำเครื่องเพื่อรับสัญญาณจากผู้โดยสาร

2.สัญญาณจะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์บนเครื่อง

3.เสาอากาศด้านนอกจากแปลงสัญญาณไปยังดาวเทียมซึ่งทำให้สัญญาณอาจเกิดความล่าช้า ขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างดาวเทียมและหอบังคับการภาคพื้น

4.หากอยู่ในระยะใกล้ สัญญาณสามารถถูกส่งได้โดยตรงไปยังเสาสัญญาณโทรศัพท์ภาคพื้นด้วยการครอบคลุมในพื้นที่กว้างกว่า ความเสถียรของเครื่องบินมากกว่า คล้ายกับฮับขนาดใหญ่ และเส้นทางที่มีสัญญาณหนาแน่นกว่า

5.เมื่อถึงภาคพื้น ข้อมูลจะถูกส่งผ่าน “meet-me-point” หรือจุดนัดพบก่อนถูกส่งไปที่ ๆ เป้าหมายปลายทางสัญญาณ

คุณสามารถใช้ในขณะอยู่เหนือพื้นมหาสมุทรได้ไหม?

ปัญหาของระบบนี้คือเมื่อคุณบินอยูเหนือน่านน้ำขนาดใหญ่อย่างมหาสมุทรหรืออยู่ในที่ค่อนข้างไกลจากพื้นที่ที่มีเสาสัญญาณให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต Wifi ก็จะไม่สามารถเชื่อมต่อได้ ซึ่งนี่ทำให้อีกระบบหนึ่งทำงานแทน

เมื่อไม่มีหอสัญญาณไหนไปถึงตัวเครื่อง In-flight Wifi จะเปลี่ยนระบบจากการส่งสัญญาณไปยังดาวเทียมที่โคจรเป็นวงรีอยู่ด้านบน ซึ่งนั่นหมายความว่าโลกของเราหมุนไปเรื่อย ๆ และดาวเทียมนั่นค้างเติ่งอยู่ที่เดิมนอกโลกตลอดเวลา

ในวิธีนี้ เครื่องบินจะเป็นเหมือนหอสัญญาณบนฟ้า ในขณะที่เครื่องบินบินไป มันก็จะเชื่อมต่อกับเสาหรือหอสัญญาณที่ใกล้ที่สุดผ่านเสาไฟ ซึ่งในที่นี่ตั้งอยู่ด้านบนของเครื่อง ด้วยระบบนี้ข้อมูลจากอุปกรณ์ของคุณจะไม่สามารถเดินทางตรงดิ่งไปยังภาคพื้นได้ แต่จะถูกส่งขึ้นไปบนดาวเทียมซึ่งจอดแช่อยู่ด้านนอกโลก

ทำไมมันช้าจังล่ะ?

 

In-flight wifi Traveleres Wifi
หนึ่งในบริษัทแรก ๆ ที่ให้บริการ in-flight Wifi คือ Gogo  ได้เปิดให้บริการครั้งแรกในเที่ยวบินของ Virgin America ในปี 2008 เพียงแค่หนึ่งปีก่อน iPhone เครื่องแรกจะถือกำเนิดขึ้น ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ไม่ใช่หลายคนนักที่จะมีสมาร์ทโฟนและมีแค่ไม่กี่คนต่อเที่ยวบินที่ต้องการบริการอินเทอร์เน็ต ดังนั้นในปี 2018 การให้บริการเน็ต 3Mbps ในการดาวน์โหลดถือเป็นเรื่องที่รับได้อย่างไรก็ตาม กลับมาที่สิบปีให้หลังและมีผู้โดยสารน้อยคนจะไม่ถือแท็บเล็ต สมาร์โฟน หรือโน้ตบุ้ค และมีความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นด้วย เมื่อเราเชื่อมต่อ Wifi เราไม่ได้แค่จะต้องการส่งอีเมล์ด่วนๆ แต่เรายังต้องการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ หรือแม้กระทั่งการคุยโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตกันแล้ว คุณสามารถอ่านบทความนี้เพื่ออ่านวิธีใช้สอยประโยชน์จากการโทรออนไลน์ให้คุณลองจินตนาการว่าปัญหาก็คือ ต้องใช้งบมหาศาลในการอัพเดทระบบดาวเทียมซึ่งแพงกว่าการอัพเดทระบบภาคพื้นดิน ดังนั้น เทคโนโลยีมีแนวโน้มช้าและล้าหลัง ปัจจุบันนี้ ความเร็วที่ให้บริการใน in-flight wifi จะมีความช้ากว่าที่เราใช้ที่บ้านหรือออฟฟิศ และจำนวนผู้ใช้งานเองก็ถือเป็นปัญหาหนึ่งเช่นกัน

ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

เมื่อมีการให้บริการฟรีที่พ่วงมากับข้อยกเว้นบางประการ การใช้ in-flight wifi นั่นมีแนวโน้มที่ราคาแพงมากกว่าที่เคยใช้ เพราะเมื่อเราอยู่บนภาคพื้นดิน เรามักจะคุ้นเคยกับบาร์ ร้านอาหาร โฮสเทล หรือโรงแรมที่ให้บริการ wifi ฟรี ยกเว้นแต่ ในโรงแรมที่แสนหรูในบางที่ ที่อาจจะคิดค่าบริการเพิ่มด้วยเรทราคาที่ค่อนข้างเคี่ยวเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ในเครื่องบินเองราคาเหล่านี้ก็ถือว่ายุติธรรม อย่างที่เราได้กล่าวไป ระบบดาวเทียมนั้นมีต้นทุนสูงในการติดตั้งและรักษา เสาสัญญาณบนเครื่องและใต้เครื่องเองก็ต้องใช้ระบบเพิ่มความต้านทานลม ทำให้สร้างมูลค่าของเชื้อเพลิงที่ต้องใช้ในแต่ละเที่ยวบิน ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ถูกปัดไปให้ผู้โดยสารซึ่งหมายความว่า การบริการ in-flight wifi ก็จะอาจจะแพงไปโดยปริยาย ทางอเมริกาเหนือที่ปัจจุบันมีโครงสร้างดังกล่าวที่ดีกว่าที่อื่นกำลังให้บริการล็อคอินบนอากาศด้วยค่าบริการที่ถูกที่สุด แต่ในยุโรปนั่นกำลังวิ่งไล่ตามหลังอยู่

เราสามารถคาดหวังอะไรกับสิ่งนี้ได้บ้างในอนาคต?

wifi in the airplane travelers wifi

การพัฒนากำลังดำเนินอยู่ตลอดทั้งสองฝากของมหาสมุทรแอตแลนติค Gogo กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการปล่อยการให้บริการอินเทอร์เน็ต 2K ซึ่งยืนยันความสเถียรที่ดีกว่าและเร็วกว่าในการเชื่อมต่อ พวกเขากล่าวว่าจะสามารถให้บริการความเร็วอินเทอร์เน็ตได้สูงสุดถึง 70Mbps ได้ในที่สุดภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ทั้งเร็วกว่าระบบภาคพื้นดินเคยทำได้ แม้ว่าในตอนนี้ ความเร็วจะยังคงช้ากว่าตอนนี้

ในยุโรปเอง Deutsche Telekom และ Inmarsat กำลังหุ้นส่วนกับโนเกีย เพื่อพัฒนาบางอย่างที่รู้จักกันในนาม European Aviation Network ซึ่งก็คือ in-flight wifi ที่มีประสิทธิภาพสูงให้กับผู้ใช้บริการทุกท่านใน EU รวมไปถึงสวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ด้วย ระบบดังกล่าวซึ่งใช้ทั้งหอสัญญาณภาคพื้นและดาวเทียมโคจรยังคงเป็นโครงการริเริ่ม แต่ระบบนี้ก็ถูกจับจองด้วยสายการบินยุโรปจำนวนมากแล้ว (ดูรายนามสายการบินด้านล่าง)

พูดง่าย ๆ ก็คือการลงทุนได้ทุ่มให้กับการพัฒนาระบบ in-flight wifi และในไม่กี่ปีต่อจากนี้ ทั้งความเสถียรและความเร็วก็จะเรียกได้ว่าเทียบเท่ากันได้ และในอนาคตอันใกล้นี้ การเดินทางด้วยเครื่องบินจะคุ้นเคยกับการเชื่อมต่อกับโลกดิจิตัลตลอดเวลา และทำให้ความยุ่งยากกลายเป็นเรื่องของอดีตอย่างรวดเร็ว

เชื่อมต่อได้ทุกครั้งที่คุณท่องเที่ยว

 

ไม่ว่าคุณจะใช้โอกาสนี้ในการใช้ประโยชน์จะการให้บริการนี้หรือจะปิดเครื่องในขณะบินก็ตาม แต่เมื่อคุณถึงที่หมายปลายทาง แน่นอนว่าคุณจะอยากได้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่รวดเร็วและเสถียรตลอดเวลาแน่นอน

คลิกที่นี่เพื่อทางแก้ปัญหาด้วย wifi พกพาที่จะทำให้คุณสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไว้ติดตัวได้อย่างง่ายดาย

 

รายชื่อสายการบินที่ปัจจุบันให้บริการ in-flight Wifi

นี่คือรายชื่อสายการบินที่ได้ให้บริการลูกค้าในการเชื่อมต่อ wifi ในระหว่างบิน

  • Air Lingus**
  • Aeroflot
  • AirAsia
  • Air Canada
  • Air China*
  • Air Europa
  • Air France
  • AirTran
  • Alaska Airlines
  • Alitalia
  • All Nippon Airlines
  • American Airlines
  • Ana
  • British Airways**
  • Cebu Pacific Air
  • China Eastern Airlines
  • Delta Airlines
  • Egypt Air
  • Emirates*
  • Etihad
  • EVA Air
  • Finnair
  • Garuda Indonesia
  • GOL Linhas Aereas Inteligentes
  • Gulf Air
  • Hong Kong Airlines*
  • Iberia**
  • Icelandair
  • Jal
  • JetBlue*
  • Lufthansa**
  • Libyan Airline
  • Malindoair
  • Mango Airlines
  • Nok Air*
  • Norwegian*
  • Oman Air
  • Philippine Airlines (PAL)*
  • Qatar Airways
  • Ryanair
  • SAS
  • Saudi Arabian Airlines
  • Singapore Airlines
  • Southwest Airlines
  • TAM
  • TAP Portugal
  • Thai Airways
  • Turkish Airlines*
  • United
  • US Airways
  • Vietnam Airlines
  • Virgin America
  • Vueling**
  • Westjet

*หมายถึงสายการบินที่ให้บริการ free Wifi เฉพาะบางเที่ยวบิน

**หมายถึงสายการบินที่เชื่อมต่อกับ European Aviation Network (เครือข่ายการบินยุโรป) แล้วบางเที่ยวบิน

Back to Blog